การเรียนในระบบไม่มีชั้นเรียนในประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นสิ่งที่ดีตามหลักของความแตกต่างระหว่างบุคคล และถ้าสามารถทำได้ในประเทศไทยก็จะเป็นสิ่งที่ดีมากๆ แต่สิ่งที่สำคัญในการจัดการศึกษาของประเทศไทย ยังพบว่ามีปัญหามากมายทั้งในด้านคุณภาพของครูที่ไม่เท่ากัน การจัดการศึกษาที่ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างจริงจัง และอีกหลายประการ ทำให้การจัดการศึกษาในระบบแบบไม่มีชั้นเรียนเป็นสิ่งที่ท้าทายมากๆสำหรับนักการศึกษาทั้งหลาย เพราะผู้ที่จะทำการเรียนการสอนต้องมีความเข้าใจอย่างจริงจัง การประเมินผล อุปกรณ์ต่างๆต้องมีเพียงพอและมีคุณภาพ และที่สำคัญนักการศึกษาทั้งหลายต้องเปิดใจยอมรับ เคยได้ยินมาว่าในต่างประเทศแม่สามารถสอนหนังสือลูกได้โดยไม่ต้องไปเรียนในโรงเรียนทำให้ลูกมีความสุขมาก มีความผูกพันรักกัน มีความอบอุ่น แต่ต้องระวังเรื่องสังคมของลูกด้วย
2. แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
การสอนที่มีการจัดระบบการเรียน การสอนให้ผู้เรียนได้เรียนตามความสามารถของตนเองด้วยการลงมือประกอบกิจกรรมอย่าง กระฉับกระเฉงตามลำดับชั้นที่ละน้อย ๆ มีโอกาสได้รับข้อติชมทันที ก้าวหน้าไปตามความสามารถ และความสะดวกของแต่ละคน
เป็นสื่อการเรียนการสอนที่มุ่งให้ผู้เรียนด้วยตนเองจะเร็วหรือช้าตามความสามารถของแต่ละบุคคลโดยแบ่งเนื้อหาออกเป็นหลาย ๆ กรอบ( frames ) แต่ละกรอบจะมีเนื้อหาที่เรียบเรียงไว้ มุ่งให้เกิดการเรียนรู้ตามลำดับโดยมีส่วนที่ผู้เรียนจะต้องตอบสนองด้วยการเขียนคำตอบซึ่งอาจอยู่ในรูปเติมคำในช่องว่างเลือกตอบ ฯลฯ และมีส่วนที่เป็นเฉลยคำตอบที่ถูกต้อง ซึ่งอาจอยู่ข้างหน้ากรอบนั้นหรือกรอบถัดไปหรืออยู่ที่ส่วนอื่นของบทเรียนก็ได้
“ บทเรียนที่จัดทำขึ้นโดยอาศัยหลักจิตวิทยาให้เด็กมีแรงจูงใจในการเรียนรู้ โดยให้ประสบความสำเร็จในการเรียนอยู่เสมอ นักเรียนเรียนด้วยตนเอง ไม่ต้องให้ครูสอนหรืออธิบายให้ฟัง อาศัยความสามารถของตนในการเรียนโดยไม่ต้องพึ่งครู”
เป็นสื่อการสอนการเรียนที่ส่งเสริมการเรียนด้วยตนเอง ด้วยความสามารถของแต่ละบุคคล ด้วยบทเรียนที่มีการกำหนดคำสั่งปฏิบัติงานเป็นขั้นตอน
บทเรียนสำเร็จรูป คือ บทเรียนที่สร้างขึ้นมาเพื่อให้ผู้เรียนศึกษาได้ด้วยตนเอง จะเรียนได้ช้าหรือเร็วก็แล้วแต่ความสามารถของผู้เรียน โดยที่ครูไม่ต้องช่วยเหลือ หรือนั่งอธิบายอยู่อย่างใกล้ชิดครูมีหน้าที่ดูแลจัดหาบทเรียนให้ และให้คำแนะนำเบื้องต้นเท่านั้น
3. เครื่องช่วยสอน (Teaching Machine)
นี้มีลักษณะเป็นเครื่องจักรกลที่สร้างขึ้นเพื่อช่วยในการเรียนการสอน เช่น อาจจะมีการเสนอบทเรียน คำอธิบาย ตามมาด้วยคำถามคำตอบ วิธีนี้ จะช่วยให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง เครื่องจะช่วยตรวจคำตอบเพื่อวัดความเข้าใจ นับคะแนน เสนอบทเรียนต่อไปถ้าคะแนนเป็นที่พอใจ ให้ทำแบบฝึกหัดซ้ำถ้า คำตอบยังไม่เป็นที่พอใจ ต่อมา ได้มีผู้นำความคิดในเรื่องเครื่องช่วยสอนนี้มาทำเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เรียกว่า CAI หรือ computer-aided instruction ปัจจุบันได้มีการพัฒนาไปได้ไกลมาก โดยเฉพาะวิชาที่ยังเรียนด้วยของจริงไม่ได้ เช่น การขับเครื่องบิน เป็นต้น นอกจากนั้น ใช้ทำบทเรียนที่เป็นการทบทวน หรือเรียนด้วยตัวเองได้ดี คำเครื่องช่วยสอนในปัจจุบันจึงหมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีโปรแกรม CAI ดู computer aided instruction ประกอบ
4. การสอนเป็นคณะ (TeamTeaching)
เป็นการทำงานร่วมกันของครู ตั้งแต่สองคนขึ้นไปร่วมกันวางแผนการสอน ทำงานร่วมกัน และรับผิดชอบ ในการเรียนการสอนนักเรียนกลุ่มเดียวกันครบทั้งกระบวนการ ผู้สอนอาจเลือกวิธีสอนใด ๆ ก็ได้ตามความเหมาะสมกับเนื้อหาของการเรียน
5. การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
เป็นเป็นการแบ่งย่อยโรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ให้มีขนาดเล็กลง โรงเรียนขนาดเล็กมีการบูรณาการงานให้มีความเหมาะสมกับสภาพบริบทของโรงเรียนโรงเรียนสาธารณะขนาดใหญ่ที่มีการแบ่งเป็นขนาดเล็ก มีอิสระในระบบการจัดการและแยกเป็นนิติบุคคล ในแต่ละโรงเรียนจะมีการบริหารงบประมาณ และการวางแผนโปรแกรมต่างๆ เป็นของตนเอง แต่การดำเนินการด้าน ความปลอดภัย และอาคารสถานที่ยังคงประสานกับโรงเรียนขนาดใหญ่และใช้พื้นที่สาธารณะร่วมกัน รูปแบบของการจัดโรงเรียน ภายในโรงเรียนเป็นลักษณะของการแสวงหาผล ประโยชน์และความสำเร็จร่วมกัน ของโรงเรียนทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็ก
6. เครื่องคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)
สื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่ง ซึ่งใช้ความสามารถของคอมพิวเตอร์ในการนำเสนอสื่อประสมอันได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิก แผนภูมิ กราฟ วิดีทัศน์ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เพื่อถ่ายทอดเนื้อหาบทเรียน หรือองค์ความรู้ในลักษณะที่ ใกล้เคียงกับการสอนจริงในห้องเรียนมากที่สุดโดยมีเป้าหมายที่สำคัญก็คือ สามารถดึงดูดความสนใจของผู้เรียน และกระตุ้นให้เกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนเป็นตัวอย่างที่ดีของสื่อการศึกษาในลักษณะตัวต่อตัว ซึ่งผู้เรียนเกิดการเรียนรู้จากการมีปฏิสัมพันธ์ หรือการโต้ตอบพร้อมทั้งการได้รับผลป้อนกลับ (FEEDBACK)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น