ระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูล คือ ระบบจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบำรุงรักษาข้อสนเทศ (Maintain information) และสามารถนำข้อสนเทศเหล่านั้นมาใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ
ระบบฐานข้อมูลประกอบส่วนประกอบหลัก4 ส่วนได้แก่
1. ข้อมูล (Data) ข้อมูลในฐานข้อมูลจะต้องมีคุณสมบัติ 2 ประการ คือ
- เบ็ดเสร็จ (Integrate) ฐานข้อมูลเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลจากแฟ้มต่าง ๆ ไว้ครบถ้วนสมบูรณ์ เพื่อลดข้อมูลซ้ำซ้อนระหว่างแฟ้ม
- ใช้ร่วมกันได้ (Share) ข้อมูลแต่ละชิ้นในฐานข้อมูลสามารถนำมาแบ่งใช้กันได้ระหว่างผู้ใช้ต่าง ๆ ในระบบ
2. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ประกอบด้วย อุปกรณ์บันทึกข้อมูลเช่น จานแม่เหล็ก , I/O device , Device controller , I/O channels , หน่วยประมวลผล และหน่วยความจำหลัก
3. ซอฟต์แวร์ (Sorftware) ตัวกลางเชื่อมระหว่างฐานข้อมูลและผู้ใช้คือ DBMS เป็นซอฟต์แวร์ที่สำคัญที่สุดของระบบฐานข้อมูล นอกจากนี้ยังมี Utility , Application Develoment tool , Desisn aids , Report writers , ect.
4. ผู้ใช้ (Users) มี 3 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
- Application Programmer เขียนโปรแกรมประยุกต์
- End Users ผู้ใช้ที่อยู่กับ Online terminal เข้าถึงข้อมูลโดยผ่านโปรแกรมประยุกต์ หรือผ่านภาษาเรียกค้น (Query Language)
- Data Addministrator & Database Administrator
DA ผู้บริหารอาวุโส เป็นผู้ตัดสินใจว่าจะเก็บข้อมูลใดในฐานข้อมูลก่อน และกำหนดนโยบายการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
DBA ผู้เชี่ยวชาญระดับมืออาชีพ เป็นผู้สร้างฐานข้อมูลและนำมาใช้งานจริง โดยควบคุมทางด้านเทคนิคที่จำเป็นในการดำเนินนโยบายที่กำหนดโดย DA เป็นรูปแบบของฐานข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน โดยถูกคิดค้นและพัฒนาโดย E.F. Codd เป็นรูปแบบที่เข้าใจง่ายสำหรับผู้ใช้ ไม่ซับซ้อนมีเครื่องมือที่ช่วยในการเรียกดูข้อมูล โดยใช้คำสั่งง่าย เช่น SQL โมเดลนี้ใช้ relation หรือตาราง 2 มิติ แทน entity
ศัพท์ที่เกี่ยวข้อง |
|
ให้แต่ละ column ของตารางแทน attribute ให้แต่ละ row แทนค่าจริงของ 1 record (เรียก tuple)ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ เป็นการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแถวและคอลัมน์ในลักษณะตารางสองมิติ ที่ประกอบด้วย attribute ที่แสดงคุณสมบัติที่แสดงคุณสมบัติของ Relationship โดยผ่านกระบวนการทำให้เป็นบรรทัดฐาน (Normalized) ในระหว่างการออกแบบ เพื่อลดความซ้ำซ้อน และการจัดฐานข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นฐานข้อมูลซึ่งให้ภาพของข้อมูล ทั้งในระดับภายนอก(External Level) และ ระดับแนวคิด (Conceptual Level) แก่ผู้ใช้ฐานข้อมูลได้เป็นอย่างดี
คุณลักษณะในการจัดเก็บข้อมูล
ในแต่ละ Relation ประกอบด้วยข้อมูลของ Attribyte ต่างๆที่จัดเก็บในรูปตาราง 2 มิติ คือ Row, Column ข้อมูลในแต่ละแถวจะไม่ซ้ำกันการจัดเรียงลำดับของข้อมูลในแต่ละแถวไม่เป็นสาระสำคัญการจัดเรียงลำดับของ Attribute จะเรียงลำดับก่อนหลังอย่างไรก็ได้ค่าของข้อมูลในแต่ละ Attribute ของ Tuple หนึ่งๆ จะบรรจุได้เพียงค่าเดียวค่าของข้อมูลในแต่ละ Attribute จะบรรจุค่าของข้อมูลประเภทเดียวกัน
1. Primary Key (คีย์หลัก) เป็น Attribute ที่มีคุณสมบัติของข้อมูลที่เป็นค่าเอกลักษณ์หรือมีค่าที่ไม่ซ้ำกัน คุณสมบัติดังกล่าวจะสามารถระบุว่าข้อมูลนั้นเป็นข้อมูลของ Tuple ใด เช่น รหัสพนักงาน เลขที่ 3001 สามารถระบุได้ว่าเป็นของพนักงานชื่อ ดวงพร Attribute ที่มีคุณสมบัติเป็น คีย์หลักอาจประกอบด้วยหลาย Attribute รวมกันเรียกว่า Composite Key (คีย์ผสม)นอกจากนี้ ใน Relation หนึ่งๆ อาจมี Attribute ที่มีคุณสมบัติเป็นคีย์หลักได้มากกว่า หนึ่งAttribute เรียก Attribute เหล่านี้ว่า Candidate Key (คีย์คู่แข่ง)ถ้า Attribute หนึ่งถูกกำหนดให้เป็นคีย์หลัก อีก Attribute หนึ่งที่มีคุณสมบัติเป็นคีย์หลัก แต่ไม่ได้ถูกเลือกให้เป็นคีย์หลักจะเรียกว่า คีย์สำรอง (Alternate Key)
2. Foreign Key (คีย์นอก) เป็น Attribute ใน Relation หนึ่งที่ใช้อ้างอิงถึง Attribute เดียวกันนี้ในอีก Relation หนึ่ง โดยที่ Attribute นี้มีคุณสมบัติ เป็นคีย์หลักใน Relation ที่ถูกอ้างอิง การมี Attribute นี้ปรากฏอยู่ในRelation ทั้งสองก็เพื่อประโยชน์ ในการเชื่อมโยงข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น