วันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ระบบฐานข้อมูล

ระบบฐานข้อมูล
ระบบฐานข้อมูล คือ ระบบจัดเก็บข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบำรุงรักษาข้อสนเทศ (Maintain information) และสามารถนำข้อสนเทศเหล่านั้นมาใช้ได้ทุกเมื่อที่ต้องการ           
ระบบฐานข้อมูลประกอบส่วนประกอบหลัก4 ส่วนได้แก่

ความเป็นมาของ OOP

ความเป็นมาของ OOP 
แนวคิด OOP ไม่ใช่ของใหม่ แต่มีมาพร้อมๆ กับการเริ่มต้นของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ในปี ค.ศ. 1960 นักเขียนโปรแกรม คิดค้นภาษา Simula (อ่านว่าซิมูลา) สำหรับเครื่อง UNIVAC ซึ่งเป็นภาษาแรกที่มีคุณสมบัติในการทำ OOP และอีกสามปีต่อมา นักศึกษาที่สถาบัน MIT อีวาน ซัทเธอร์แลนด์ (Ivan Sutherland) สร้างซอฟท์แวร์ชื่อ Sketcpad เป็นโปรแกรมประยุกต์ทำหน้าที่ช่วยการออกแบบ (CAD) มันเป็นโปรแกรมแรกที่นำ การปฏิสัมพันธ์กับผู้ใช้ด้วยภาพ” (Graphic User Interface หรือ GUI) มาใช้อย่างสมบูรณ์ และการออกแบบสร้างก็ทำโดยใช้หลักการ OOP อย่างเต็มรูปแบบ 

โครงสร้างแบบแหวน (RING NETWORK)

โครงสร้างแบบแหวน (Ring Network)
โครงสร้างแบบนี้คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์จะถูกเชื่อมต่อเข้ากับสายเคเบิลเส้นเดียวเป็นวงแหวนดังรูป
ที่ได้แสดงไว้ การส่งข้อมูลจะใช้ทิศทางเดียวกันตลอดโดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ถัดกัน
ไปเป็นทอด ๆ ถ้าแอดเดรสของมันไม่ตรงกับผู้รับตามที่เครื่องต้นระบุมา มันก็จะส่งผ่านไปยัง
เครื่องถัดไป จนกว่าจะถึงเครื่องปลายคือตรงกับใครเครื่องนั้นก็รับ ไม่ส่งต่อ โครงสร้างแบบน
ี้มีข้อเสียคล้าย ๆ กับแบบบัส คือเมื่อสายเคเบิลช่วงใดช่วงหนึ่งขาดจะทำให้ทั้งระบบใช้งานไม่ได้ อย่างไรก็ตามเครือข่ายแบบวงแหวนมักใช้สายเคเบิลที่มีวงแหวนสำรองที่สามารถส่งข้อมูลใน
ทิศทางกลับกัน เพื่อเป็นเส้นทางสำรองในกรณีที่เครือข่ายมีปัญหา ซึ่งราคาแพงพอสมควร นอกจากนี้การเพิ่มเครื่องเข้าไปในเครือข่ายจะต้องปิดการทำงานของระบบก่อนเช่นเดียวกับแบบบัส เครือข่ายแบบนี้ปัจจุบันยังใช้กันอยู่ โดยเฉพาะในเครือข่ายของผลิตภัณฑ์ในตระกูล IBM ซึ่งโดยมากจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์

คอมพิวเตอร์ 
 หมายถึง เครื่องอุปกรณ์อีเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่มีการทำงานแบบอัตโนมัติ ทำหน้าที่เหมือนสมองกล สามารถแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อนตามคำสั่งของโปรแกรม ขั้นตอนการทำงานจะประกอบด้วย การรับโปรแกรมและข้อมูลในรูปแบบที่เครื่องสามารถรับได้ และทำการประมวลผล โดยทำการเปรียบเทียบจนกระทั่งได้ผลลัพธ์ จากนั้นนำผลลัพธ์ที่ได้ไปแสดงผลที่อุปกรณ์แสดงผล เช่น จอภาพหรือเครื่องพิมพ์ เป็นต้น

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์

ประเภทของเครื่องคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ในปัจจุบันสามารถแบ่งเป็นประเภทต่างๆ โดยใช้ความแตกต่างจากขนาดของเครื่อง ความเร็วในการประมวลผล รวมทั้งราคาเป็นหลัก คือ

คำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรม

คำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรม 

   สำหรับบทนี้จะอธิบายถึงคำสั่งควบคุมการทำงานของโปรแกรม  ซึ่งแบ่งกลุ่มตามลักษณะการทำงานตามข้อกำหนดมาตรฐานของสถาบัน  ANSI (American  National  Standards  Institute)  กำหนดให้ภาษา  C  มีคำสั่งที่ใช้ควบคุมการทำงานของโปรแกรมดังนี้
           1) คำสั่งวนลูปหรือทำงานซ้ำ ๆ เป็นลูป (loop  statements)  ได้แก่  คำสั่ง  for, while, do while  และมีคำสั่งออกจากลูปคือคำสั่ง  break  หรือทำงานในรอบต่อไป  คือคำสั่ง  continue
           2) คำสั่งทดสอบเงื่อนไขในการตัดสินใจ  (decision  statements)  ได้แก่  คำสั่ง  if, if else, โครงสร้าง  else  if  (หรือ  nested  if)  และคำสั่ง  switch
           3) คำสั่งที่สั่งให้ไปทำงานตามจุดที่กำหนดให้   (goto  statements)  ได้แก่  คำสั่ง  goto  และ  label  ซึ่งแต่ละคำสั่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ฟังก์ชันพื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษา C

ฟังก์ชันพื้นฐานการเขียนโปรแกรมภาษา  C

 จากบทที่ 2 ได้กล่าวถึงรายละเอียดต่าง ๆ เกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโปรแกรมภาษา  C   สำหรับบทนี้จะอธิบายถึงฟังก์ชันพื้นฐานสำหรับการเขียนโปรแกรมภาษา  C  เนื่องจากภาษา  C  มีฟังก์ชันให้ใช้งานมากมายแต่ในบทนี้จะกล่าวถึงฟังก์ชันพื้นฐานที่ใช้งานอยู่เป็นประจำในการเขียนโปรแกรมนั้นคือ  ฟังก์ชันรับข้อมูลและฟังก์ชันแสดงผลข้อมูล  โดยแต่ละฟังก์ชันมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ความรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรม

ความรู้พื้นฐานการเขียนโปรแกรม

 เนื้อหาในบทนี้จะกล่าวถึงขั้นตอนวิธีการทางคอมพิวเตอร์ (computer  algorithms)  เพื่อเป็นการให้ความรู้พื้นฐานก่อนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์  รวมถึงเนื้อหาเกี่ยวกับโครงสร้างภายในโปรแกรมซึ่งจะประกอบด้วยเนื้อหาเกี่ยวกับลักษณะของโปรแกรมแบบโครงสร้าง  และรูปแบบโครงสร้างภายในโปรแกรม  เพื่อช่วยให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเลือกใช้คำสั่งให้สอดคล้องกับโครงสร้างภายในโปรแกรมได้  ซึ่งรายละเอียดของแต่ละเนื้อหามีดังต่อไปนี้

อินเตอร์เน็ต

อินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้าด้วยกัน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตสามารถสื่อสารถึงกันได้ ภายในเวลาอันรวดเร็ว ช่วยประหยัดทรัพยากรและที่สำคัญอินเตอร์เน็ตคือคลังสมองอันยิ่งใหญ่หรือห้องสมุดโลกที่ทุกคนสามารถค้นคว้าหาความรู้ข้อมูล ข่าวสารได้โดยไม่ต้องเดินทางไปยังแหล่งความรู้นั้น

โปรแกรมภาษา Java Script

โปรแกรมภาษา Java Script
ได้รับ mail จากคุณ surasak boonarch <putter_@yahoo.com>
ว่าเขียน ปิรามิดด้วย java ได้ไหม อย่างไร ผมจึงเขียนไว้ให้ดูเป็นตัวอย่างดังข้างล่างนี้

การเริ่มต้นเขียนโปรแกรม

 การเริ่มต้นเขียนโปรแกรม
เริ่มต้นเขียนโปรแกรม เริ่มต้นตรงไหน : สำหรับผม เมื่อได้มาทำหน้าที่สอนหนังสือ
 โดยเฉพาะการเขียนโปรแกรมทุกภาษา ผมจะสอนให้นักศึกษาเขียนโปรแกรมควบคุมตัวเลข 
เช่นการพิมพ์ 1 ถึง 10 หรือ สูตรคูณ หรือปิรามิดของตัวเลข
 ที่ต้องฝึกใช้ Structure Programming ให้ชำนาญ และปัญหาก็เกิดขึ้นทุกครั้ง 
คือ "นักเรียนบ่นว่าไม่ชอบเขียน ไม่มีประโยชน์" หรือ "เขียนไม่ได้ ถึงเขียนได้ ก็ไม่รู้จะเขียนไปทำไม

สิ่งที่ผู้หญิงต้องการจากผู้ชาย

สิ่งที่ผู้หญิงต้องการจากผู้ชาย

สิ่งที่ผู้ชายควรพึงระลึกไว้ เกี่ยวกับผู้หญิง

1.อย่าไปตามจีบหรือมีผู้หญิงอื่น --- มันทำให้ผู้หญิงรู้สึกว่าเค้าไม่ดีพอสำหรับคุณ และเค้าอาจจะทำอะไรบางอย่างผิดจึงเป็นเหตุให้คุณไปมีผู้หญิงอื่น

นวัตกรรมการศึกษา

นวัตกรรมการศึกษา

1. การเรียนแบบไม่แบ่งชัน (Non-Graded School)
=
นวัตกรรมที่เกิดขึ้นเพื่อสนองแนวความคิดพื้นฐาน ในเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Different) แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องความพร้อม (Readiness) นวัตกรรมที่สนองแนว ความคิดพื้นฐาน แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการใช้เวลาเพื่อการศึกษา นวัตกรรมที่สนองแนวความคิด แนวความคิดพื้นฐานในเรื่องการขยายตัวทางวิชาการและอัตราการเพิ่มประชากรนวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
=
คือ บทเรียนสำเร็จรูป หมายถึง บทเรียนที่ผู้สอนจัดทำขึ้นเพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง ในแต่ละสาระการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแต่ละบทเรียน โดยเริ่มจากเนื้อหาสาระง่ายๆไปสู่เนื้อหาที่ยากขึ้นไปตามลำดับ เป็นบทเรียนที่สร้างขึ้นโดยกำหนดวัตถุประสงค์ เนื้อหา วิธีการ และสื่อการเรียนการสอนไว้ล่วงหน้า ผู้เรียนสามารถศึกษา ค้นคว้า และประเมินผลการเรียนด้วยตนเองตามขั้นตอนที่กำหนดไว้

นวัตกรรมการศึกษา

1. การเรียนแบบไม่แบ่งชัน (Non-Graded School)
                การเรียนในระบบไม่มีชั้นเรียนในประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นสิ่งที่ดีตามหลักของความแตกต่างระหว่างบุคคล และถ้าสามารถทำได้ในประเทศไทยก็จะเป็นสิ่งที่ดีมากๆ แต่สิ่งที่สำคัญในการจัดการศึกษาของประเทศไทย ยังพบว่ามีปัญหามากมายทั้งในด้านคุณภาพของครูที่ไม่เท่ากัน การจัดการศึกษาที่ยังไม่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางอย่างจริงจัง และอีกหลายประการ ทำให้การจัดการศึกษาในระบบแบบไม่มีชั้นเรียนเป็นสิ่งที่ท้าทายมากๆสำหรับนักการศึกษาทั้งหลาย เพราะผู้ที่จะทำการเรียนการสอนต้องมีความเข้าใจอย่างจริงจัง การประเมินผล อุปกรณ์ต่างๆต้องมีเพียงพอและมีคุณภาพ และที่สำคัญนักการศึกษาทั้งหลายต้องเปิดใจยอมรับ เคยได้ยินมาว่าในต่างประเทศแม่สามารถสอนหนังสือลูกได้โดยไม่ต้องไปเรียนในโรงเรียนทำให้ลูกมีความสุขมาก มีความผูกพันรักกัน มีความอบอุ่น แต่ต้องระวังเรื่องสังคมของลูกด้วย

จอคอมพิวเตอร์

จอคอมพิวเตอร์
เป็นอุปกรณ์แสดงผลที่มีชื่อเรียกมากมาย เช่น Monitor, CRT (Cathode Ray Tube) สามารถแบ่งได้หลายรูปแบบ เช่น แบ่งเป็นจอแบบตัวอักษร (Text) กับจอแบบกราฟิก (Graphic) โดยจอภาพแบบตัวอักษรจะมีหน่วยวัดเป็นจำนวนตัวอักษรต่อบรรทัด เช่น 80 ตัวอักษร 25 บรรทัด สำดหรับจอคอมพิวเตอร์แบบกราฟิก จะมีหน่วยวัดเป็นจุด (Pixel) เช่น 640 pixel x 480 pixel ลักษณะภายนอกของจอคอมพิวเตอร์ก็คล้ายๆ กับจอโทรทัศน์นั่นเอง สิ่งที่แสดงออกทางจอคอมพิวเตอร์มีทั้งข้อความ ภาพนิ่ง และภาพเคลื่อนไหว โดยรับข้อมูลจากการ์ดแสดงผล (Video Card, Video Adapter) ซึ่งเป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ที่เสียบบนเมนบอร์ด ทำหน้าที่นำข้อมูลจากหน่วยประมวลผล มาแปลงเป็นสัญญาณภาพ แล้วส่งให้จอคอมพิวเตอร์แสดงผล ปัจจุบันมีการพัฒนาจอคอมพิวเตอร์ออกมาหลากหลายลักษณะ โดยเน้นที่จำนวนสี ความละเอียด ความคมชัด การประหยัดพลังงาน โดยสามารถแบ่งประเภทจอคอมพิวเตอร์ ที่ใช้ในปัจจุบันได้กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1. จอคอมพิวเตอร์สีเดียว (Monochrome Monitor)
2. จอคอมพิวเตอร์หลายสี (Color Monitor)
3. จอคอมพิวเตอร์แบบแบน (LCD; Liquid Crystal Display)
กลไกการทำงานของซีพียู
http://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/hardware/p54c.gif
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ใช้หลักการเก็บคำสั่งไว้ที่หน่วยความจำ ซีพียูอ่านคำสั่งจากหน่วยความจำมาแปลความหมายและกระทำตามเรียงกันไปทีละคำสั่ง หน้าที่หลักของซีพียู คือควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทั้งระบบ ตลอดจนทำการประมวลผล
กลไกการทำงานของซีพียู มีความสลับซับซ้อน ผู้พัฒนาซีพียูได้สร้างกลไกให้ทำงานได้ดีขึ้น โดยแบ่งการทำงานเป็นส่วน ๆ มีการทำงานแบบขนาน และทำงานเหลื่อมกันเพื่อให้ทำงานได้เร็วขึ้น

การใช้เมาส์

การใช้เมาส์
คุณสามารถใช้เมาส์เพื่อโต้ตอบกับรายการต่างๆ บนหน้าจอเหมือนกับที่คุณใช้มือของคุณโต้ตอบกับวัตถุในชีวิตจริง คุณสามารถย้ายวัตถุ เปิดวัตถุ เปลี่ยนแปลง ลบและทำการกระทำต่างๆ ได้ด้วยการชี้และคลิกด้วยเมาส์ของคุณ
ส่วนประกอบพื้นฐาน
โดยทั่วไป เมาส์จะประกอบด้วยปุ่มสองปุ่ม ได้แก่ ปุ่มหลัก (ปกติจะเป็นปุ่มซ้าย) หนึ่งปุ่ม และ ปุ่มรอง(ปกติจะเป็นปุ่มขวา) หนึ่งปุ่ม ปุ่มหลักคือปุ่มที่คุณจะใช้บ่อยที่สุด เมาส์ส่วนใหญ่จะมี ล้อเลื่อน ระหว่างปุ่มทั้งสองเพื่อช่วยให้คุณเลื่อนดูเอกสารและเว็บเพจได้ง่ายยิ่งขึ้น ในเมาส์บางตัว คุณสามารถกดล้อเลื่อนเพื่อให้ทำงานเหมือนเป็นปุ่มที่สาม เมาส์ที่มีประสิทธิภาพสูงอาจมีปุ่มเพิ่มเติมที่สามารถทำงานอื่นๆ ได้

การใช้งานแป้นพิมพ์ (Keyboard)

การใช้งานแป้นพิมพ์ (Keyboard)
แป้นพิมพ์เป็นอุปกรณ์ที่นำเข้าข้อมูลเพื่อสั่งให้หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ดำเนินการและแสดงผลออกทางจอภาพ (Monitor) แป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้าย ๆ กับแป้นพิมพ์ของเครื่องพิมพ์ดีด กล่าวคือ มีแต่ละแป้นพิมพ์ตัวอักษรแถวบนหรือแถวล่างได้ แต่แป้นพิมพ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมีประมาณ 101-104 แป้น แป้นพิมพ์ที่เพิ่มขึ้นมาทำหน้าที่ต่าง ๆกัน
แบ่งกลุ่มแป้นพิมพ์คอมพิวเตอร์ออกได้เป็น 3 กลุ่มคือ